จากวารสาร SME INSPIRED Quarter 2, 2014/ Vol.8 Nr.30
ขอขอบคุณ วารสาร SME ที่กรุณา ให้กำลังใจแก่กิจการคนไทย
SME inspired 57.pdf
นวัตกรรม-ไอที
วัน วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2548
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน
'สมาร์ทเครน'ทำงานอัตโนมัติ รับคำสั่งล่วงหน้าผ่านไวร์เลส
ผู้ประกอบการไทยพัฒนา "รถยกอัจฉริยะ" สามารถทำงานยกของ และจัดเรียงสินค้าได้อัตโนมัติ หลังป้อนคำสั่งยกของในคลังสินค้าล่วงหน้า 30 คำสั่ง เผยทำงานเร็วกว่ารถยกทั่วไปถึง 4 เท่า ยกสินค้าได้สูงสุด 18 เมตร เหมาะใช้ในคลังสินค้าขนาดสูง และประหยัดพื้นที่จัดเก็บถึง 8 เท่า
ภัทรพงศ์ นามสูงเนิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเอ็นไครส์ จำกัด พัฒนา "สมาร์ท เครน" หรือเครนอัจฉริยะช่วยยกสินค้าเก็บในคลังสินค้าได้สูง 6-18 เมตร สามารถป้อนคำสั่งล่วงหน้าผ่านคอมพิวเตอร์ได้ 30 คำสั่งผ่านเครือข่ายไร้สาย โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมและโปรแกรมบริหารคลังสินค้า
การจัดเก็บสินค้าด้วยสมาร์ท เครนนี้นับเป็นทางเลือกในการสร้างคลังสินค้าในแนวตั้ง ช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างคลังสินค้า ประหยัดบุคลากรในการทำงาน พลังงานแสงสว่างที่ใช้ในคลังสินค้า สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างสะดวก
"ผมเคยเห็นเครื่องลักษณะนี้ที่ประเทศเยอรมนีเมื่อ 30 ปีก่อน ต่อมาเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วซัมซุงได้เข้ามาเปิดตลาดนี้ในไทย และผมเคยเป็นตัวแทนประกอบและซ่อมแซม จึงมีความคิดที่จะสร้างเอง และเรียกได้ว่าเป็น สมาร์ท เครน เครื่องแรกที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย" ภัทรพงศ์ เล่าถึงที่มาและว่า เริ่มจากการออกแบบโครงสร้างเครนก่อน จากนั้นได้ขอคำแนะนำของเนคเทคในเรื่องโปรแกรมในการควบคุม
การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าโดยทั่วไปจะใช้รถยกสินค้าไปวางหรือยกออกจากชั้นวาง ซึ่งข้อจำกัดของรถยกปัจจุบันคือสามารถยกได้สูงสุดเพียง 3 เมตร และต้องใช้คนควบคุมตลอดเวลา หากเป็นเครนอัจฉริยะ จะสามารถป้อนคำสั่งตำแหน่งที่ต้องการจัดวางไว้ล่วงหน้า และขณะยกสินค้ายังสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วย ต่างจากเครนที่ใช้มนุษย์ควบคุม
"โปรแกรมควบคุมการทำงานมีอยู่ 2 โปรแกรม คือ โปรแกรมในการควบคุมเครน สั่งงานให้เครนทำงาน นำของเข้า-ออก โดยป้อนตำแหน่งที่ต้องการจากคอมพิวเตอร์ในออฟฟิศ ส่งมาที่คอมพิวเตอร์ที่เครนโดยไวร์เลส เป็นคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อป้องกันการรบกวนจากคลื่นอื่น อีกโปรแกรมหนึ่งก็คือโปรแกรมบริหารคลังสินค้า ซึ่งคอยบอกว่าช่องสินค้าใดวางอยู่ รอให้นำสินค้าไปเก็บ หรือสินค้าชนิดเดียวกันอยู่ที่ชั้นวางไหนบ้าง ต้องนำสินค้าที่ช่องไหนออกก่อนออกหลัง เนื่องจากสินค้ามีอายุการใช้งาน เช่น สินค้าในห้องเย็น" ภัทรพงศ์ กล่าว
เครนอัจฉริยะนี้สามารถยกสินค้าได้หนักสุด 1 ตันใช้เวลาพัฒนา 3 ปี และต่อไปจะพัฒนาให้เคลื่อนที่เร็วขึ้นเท่ากับเครนนำเข้าจากเยอรมนี จากขณะนี้วิ่งได้ 120 เมตรต่อนาที จะพัฒนาเป็น 240 เมตรต่อนาที และจะพัฒนาให้สามารถเลี้ยวได้ด้วย เนื่องจากขณะนี้วิ่งได้ในทางตรงทางเดียว ทำให้ต้องใช้เครน 1 ตัวต่อช่องระหว่างชั้นวางสินค้า 1 ช่อง
คัดลอกข่าวจาก
กรุงเทพธุรกิจ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คม ชัด ลึก