วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, ISSN 1906-3636 (http://www.ej.eng.chula.ac.th/) 51
1. บทนา
คลังสินค้าเป็นส่วนสาคัญทางกลยุทธ์ในโซ่อุปทาน นอกเหนือจากเป็นสถานที่เก็บสารองสินค้าสาหรับการจาหน่ายหรือวัตถุดิบสาหรับการผลิตเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานในช่วงเวลาสั้นๆแล้ว คลังสินค้ายังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเช่น เป็นสถานที่พักและรวบรวมสินค้าจากหลายแหล่งเพื่อประหยัดค่าขนส่งและ เป็นสถานที่ประกอบขั้นสุดท้ายและบรรจุผลิตภัณฑ์ก่อนส่งสินค้าให้ผู้บริโภค เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ธุรกิจต่างมุ่งเน้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายภายใต้ข้อจากัดขององค์กร คลังสินค้าจึงเป็นจุดเชื่อมต่อทางกลยุทธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยที่สาคัญที่สามารถเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาด
การจัดการคลังสินค้ามีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในคลังสินค้า [1, 2] ดังนั้นการจัดการคลังสินค้าโดยทั่วไปเน้นในการวางแผนและการควบคุมกระบวนการในคลังสินค้าให้ดาเนินการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า [3] การวางแผนเป็นการตัดสินใจว่าจะต้องมีการทากระบวนการใดบ้าง อย่างใดและทาเมื่อใด ในขณะที่การควบคุมกระบวนการในคลังสินค้าเป็นการทาให้เกิดความมั่นใจว่าการดาเนินการจะเป็นไปได้อย่างที่วางแผนไว้ [4] ซึ่งทั้งการวางแผนและการควบคุมในคลังสินค้านั้นมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจานวนมาก ดังนั้นการจัดการคลังสินค้าที่ดีจึงมีความจาเป็นที่จะต้องสามารถทาให้การส่งผ่านข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องมีความแม่นยาและมีประสิทธิภาพ [5]
ในปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศจากการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่สูงขึ้น และความต้องการในการบูรณาการด้านข้อมูลจากลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น องค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวรวมถึงความสาคัญของคลังสินค้า และได้ทาการยกระดับคลังสินค้าโดยการนาระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) ซึ่งเป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยเหลือในการจัดการคลังสินค้ามาใช้เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลและจัดการบริหารงานภายในคลังสินค้า ระบบ WMS เป็นรูปแบบจัดการคลังสินค้าที่มีระบบบูรณาการเทคโนโลยีสื่อสาร และอุปกรณ์อัตโนมัติในการจัดเก็บ-การจัดจ่ายสินค้าต่างๆ โดยเน้นไปที่การจัดการทางกายภาพและการควบคุมกระบวนการทางานซึ่งช่วยลดจานวนพนักงาน ภาระงานเอกสาร การเก็บ-วิเคราะห์ข้อมูล และการวางแผนทรัพยากร [6] อย่างไรก็ดีการใช้ระบบ WMS มีความต้องการเงินลงทุนสูง และใช้เวลาในการพัฒนาระบบยาวนาน [7] ดังนั้นบทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนาระบบ WMS ให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อยซึ่งมีข้อจากัดในด้านเงินลงทุน และ/หรือ เวลาในการพัฒนาระบบได้เข้าใจถึงขอบเขตขีดความสามารถของระบบ เพื่อให้ผู้ประกอบการทาการประเมินความเหมาะสมของระบบ WMS กับกิจกรรมคลังสินค้าในองค์กรของตนได้ด้วยตนเอง บทที่ 2 กล่าวถึงปัญหาที่มักพบในคลังสินค้าทั่วไป เช่นปัญหาการบริหารจัดการข้อมูล ปัญหาความหนาแน่นของคลังสินค้า และปัญหาค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ บทที่ 3 กล่าวถึงบทบาทของระบบ WMS ในการช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยความสามารถในการบูรณาการร่วมกับอุปกรณ์และเครื่องมืออัตโนมัติที่ทันสมัย และก่อให้เกิดความโปร่งใสและความถูกต้องในกิจกรรมคลังสินค้า สาหรับบทที่ 4 อธิบายถึงความความแตกต่างระหว่างข้อมูลสินค้าในระบบ WMS และการบริหารพัสดุคงคลังในระบบบัญชี และในส่วนสุดท้ายเป็นนาเสนอสัญญาณทางธุรกิจและข้อแนะนาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถประเมินว่าธุรกิจของตนควรมีการลงทุนในระบบ WMS หรือไม่ ผ่านงานวิจัยจากต่างประเทศและการเข้าเยี่ยมชมคลังสินค้าในประเทศ
by
Oran Kittithreerapronchaia,* and Naragain Phumchusrib
วารสารวิศวกรรมศาสตร์ (ISSN: 1906-3636) ปีที่ 5 ฉบับที่ 2
Online at http://www.ej.eng.chula.ac.th/
DOWNLOAD HERE