ปัจจุบันบริษัทรถยนต์ ฟอร์ด ได้ใช้ คลังสินค้าแบบสูง มานานกว่า 34 ปี ในอดีต บริษัทใช้พื้นที่ส่วนใหญ่เพื่อเป็นการเก็บสินค้า แต่เมื่อการผลิตรถ มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากปี 1962 ถึงปี 1969 เพิ่มจาก 145,000 คัน เป็น 585,000 คันต่อปี ซึ่งในปีต่อไป บริษัทต้องเพิ่มสายการผลิต ทำให้ต้องเพิ่มพื้นที่ในสายการผลิตนี้ อีก 1/3 ของพื้นที่ที่มีอยู่
บริษัทฟอร์ดจึงตัดสินใจ ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าลง และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจัดเก็บ และการบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีความยืดหยุ่นสูง โดยเปลี่ยนมาใช้การเก็บสินค้าในแนวสูง เพื่อให้สินค้าทั้งหมดยังอยู่ในบริเวณโรงงานอย่างเป็นระเบียบ ไม่ให้วางอยู่ตามมุมที่ว่างของผ่ายผลิต และ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนย้าย โดยเปลี่ยนพื้นที่จัดเก็บสินค้าเดิม 14,850 ตารางเมตร มาสร้างเป็น คลังสินค้าแนวสูง ขนาด 1,500 ตารางเมตร โดยใช้เครน สูง 30 เมตร จำนวน 3 ตัว สามารถจัดเก็บสินค้า ได้ถึง7,610 พาเลท
แต่จากการใช้เครนในระยะแรก พบปัญหามากพอสมควร เช่น รางเครน ร้าว และบิดงอ, น้อตยึดเครนต่าง ๆหลวมและขาด, ตัวประคองล้อแตก, โครงสร้างแครนร้าว, สินค้าเลื่อนออกมาจากพาเลท, เครนเอียง , ล้อพลาสติก เปลี่ยนรูป เมื่อมีแรงกดและหยุดอยู่เป็นเวลานาน, สลิงและล้อของสลิงสึกและแตก จากการประเมินพบว่าเครนสามารถใช้งานได้ เพียงประมาณ 65 % ของเวลางาน ที่เหลือ เป็นเวลาแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำงาน, การซ่อมแซม, และวันหยุด เป็นผลให้ บริษัทฟอร์ดต้อง เพิ่มการทำงานในกะดึกและในวันหยุด
ในปี 1988 จึงได้มีการตัดสินใจซ่อมแซมและปรับปรุงเครนทั้ง 3 ตัวครั้งใหญ่ โดยมิให้มีผลกระทบกับการผลิต ในการปรับปรุงนี้ เขายึดหลักการคือ ชุดขับเครื่อง และอะไหล่ต่าง ๆ จะต้องหาง่ายในท้องตลาด, เครนต้องถูกควบคุมได้อย่างอัตโนมัติ และซ่อมแซมง่าย, ล้อเครนและตัวประคองเปลี่ยนเป็นล้อเหล็ก, มีบันไดขึ้นลงให้คนขับเครน, ข้อมูลความผิดพลาดจะถูกส่งไปยังห้องควบคุมได้, กันชนเป็น ไฮโดรลิค, ปรับอัตราเร่งและหน่วงใหม่, ลดความเร็วในการวิ่งจาก 170 เป็น 140 เมตร/นาที, ความเที่ยงตรงในการจอดน้อยกว่า 5 มม.ใช้แสงอินฟราเร็ดในการส่งข้อมูล
3 ปีหลังการปรับปรุง (1992 ) ผลปรากฎว่า บริษัทสามารถนำของเข้าออกได้มากขึ้น2 เท่า เวลาที่เครื่องเสีย ลดลงเหลือ 7.5 % ของเวลาทำงานเท่านั้น ฟอร์ดจึง ตัดสินใจ ใช้ เครนเพิ่มอีก 2 ตัว โดยมีหลักคิดว่า ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยแต่เก็บของได้มาก พื้นที่ส่วนใหญ่ของโรงงานใช้ในการผลิตสินค้า, นำสินค้าเข้าออกได้ง่ายและรวดเร็ว และสามารถลดความเสี่ยงเกี่ยวกับเพลิงไหม้ โดยใช้ พาเลท เหล็ก อีกทั้งยังสามารถจัดการระบบ First in first out และ ระบบ Just in time ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Böblingen